ย้อนไปในอดีตสำหรับเหตุการณ์ด้านภัยภิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 10 อันดับต้นๆคงต้องมีเรื่องสึนามิเมื่อปี 2547 ติดอันดับอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิขึ้นในประเทศไทยครั้งนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 7.58 น. ตามเวลาของประเทศไทย สึนามิที่เกิดขึ้นครั้งนี้มีสาเหตุเกิดมาจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณหัวเกาะสุมาตรา ด้านตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย วัดขนาดความรุนรงได้ 9.3[1]แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีขนาดประมาณ 30 เมตรตามมา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งสึนามิยังทำลายโครงสร้างบ้านเรือน ตัวอาคาร ตึก และโครงสร้างต่างๆอย่างมากมาย[2] มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ประมาณ 230,000 คน ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือ ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา และประเทศไทยตามลำดับ [3] สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิในครั้งนี้จำนวน 6 จังหวัด เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ พังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล โดยจังหวัดที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิเป็นอย่างมาก คือ พังงา กระบี่ และภูเก็ต คาดการณ์ผู้เสียชีวิตในประเทศไทย 6 จังหวัดรวมกัน ประมาณ 5,400 คน [4] นอกเหนือจากผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายเป็นจำนวนมากแล้ว ประเทศไทยยังต้องสูญเสียในเรื่องของทรัพย์สิน เช่น อาคารบ้านเรือนของประชาชน โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร บังกะโล ยานพาหนะ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา และทรัพย์สินส่วนบุคคล โดยรวมมีมูลค่ากว่าพันล้านบาท ในส่วนของด้านเศรษฐกิจหลังเกิดสึนามิ พบว่า ประเทศไทยต้องประสบปัญหาด้านธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุด โดยพื้นที่ที่เกิดเหตุจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศเป็นลำดับต้นๆของโลก หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิทำให้นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศที่มาจากการท่องเที่ยวเป็นจำนวนเงินมหาศาล แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายอย่างมากมีอยู่ประมาณ 7 แหล่ง คือ ชายทะเลเขาหลักในเขตอุทยานเขาหลัก เกาะสิมิลัน ในจังหวัดพังงา หาดราไวย์ หาดกะรน หาดกมลา และหาดป่าตอง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และเกาะพีพี ในจังหวัดกระบี่ [3]
จากตารางแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากสึนามิเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ เหตุการณ์ครั้งนั้นต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีความรู้ และความพร้อมในการเตรียมรับมือกับสึนามิอย่างถูกวิธี เพราะประเทศไทยถือเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์การเกิดสึนามิน้อยมาก
ตาราง แสดงข้อมูลประเทศและผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์สึนามิ วันที่ 26 ธันวาคม 2547
ประเทศที่ได้รับความเสียหาย
ยืนยัน
โดยประมาณ
ได้รับบาดเจ็บ
สูญหาย
Displaced
130,736
167,799
n/a
37,063
500,000+
35,322
35,322
21,411
n/a
516,150
12,405
18,045
n/a
5,640
647,599
5,395
8,212
8,457
2,817
7,000
78
289
n/a
n/a
5,000
61
400–600
45
200
3,200
82
108
n/a
26
15,000+
68
75
299
6
n/a
10
13
n/a
n/a
n/a
3
3
57
n/a
200
2
2
n/a
n/a
n/a
2
2
n/a
n/a
n/a
2
2
n/a
n/a
n/a
1
1
2
n/a
n/a
n/a
n/a
n/a
n/a
1,000+
รวม
~184,167
~230,273
~125,000
~45,752
~1.69 million
หมายเหตุ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 230,000 ราย และ มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่มาของข้อมูล :http://en.wikipedia.org/wiki/2004_Indian_Ocean_earthquake_and_tsunami

                ถึงอย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่ารายงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยมีความถี่เพิ่มมากขึ้น การให้ความรู้ประชาชนจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเอาตัวรอด และการเตรียมรับมือกับสึนามิอย่างถูกวิธี สำหรับวิธีเอาตัวรอดจากสึนามินั้นผู้เขียนจะขอนำเสนอวิธีการเอาตัวรอดจากสึนามิ 12 ขั้นตอนดังนี้
12 ขั้นตอนการเอาตัวรอดจากสึนามิ[5]
              1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่มาจากสึนามิไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีความสำคัญมากโดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงจะเกิดสึนามิ เช่น
-        บ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงานอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล
-        ระดับความสูงของบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน มีความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
-        เป็นพื้นที่บริเวณที่มีสัญญาณเตือนภัยสึนามิ
2.มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า หากข้อมูลที่ค้นหาบ่งชี้ว่าพื้นที่บริเวณที่คุณอาศัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิขึ้นได้
-        เตรียมอุปกรณ์เอาตัวรอดไว้ เช่น อาหาร น้ำ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น และต้องจัดเตรียมไว้ในที่ซึ่งสามารถหยิบใช้ได้ง่ายในกรณีฉุกเฉิน
-        ชุดอุปกรณ์สำหรับเอาตัวรอดต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอ สำหรับคนในครอบครัว และอย่าลืมเตรียมยาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยในครอบครัว
-       แผนการอพยบต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าสำหรับครอบครัว
3.มีการพัฒนาแผนการเอาตัวรอดจากสึนามิร่วมกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น
-      ระดมความคิดเพื่อหาแนวทางการวางแผนในการอพยบ
-     ดำเนินการฝึกซ้อมตามแผนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสมาชิกในชุมชนมีความเข้าใจแผนการที่ตรงกัน รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือคนป่วย และคนพิการได้
-     ตรวจสอบสัญญาณการเตือนภัยอย่างสม่ำเสมอ และมีการแจกคู่มือ หรือใบปลิวเรื่องแผนการอพยบแก่สมาชิกในชุมชน
4.ฝึกตัวเองให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งรอบข้างอยู่เสมอ เพราะก่อนเกิดสึนามิจะมีเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่จะเป็นตัวเตือนภัยล่วงหน้าได้ เช่นการลดลงของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณเตือนภัยว่ากำลังจะมีคลื่นสึนามิตามา หรือพฤติกรรมการแสดงออกของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เป็นต้น
12-1

รูป: การลดระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วในประเทศศรีลังกา ก่อนเกิดสึนามิ
5.ใส่ใจต่อคำเตือนของชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า พร้อมกับเตรียมอพยบตามแผนการของชุมชนที่เตรียมไว้
6.การปฏิบัติ หากคลื่นสึนามิกำลังคลื่นที่เข้าใกล้ชายฝั่งอย่างรวดเร็ว
-     รีบออกห่างจากบริเวณชายฝั่งให้เร็วที่สุด และหนีขึ้นที่สูง เช่นภูเขาสูง
-    หากท่านไม่สามารถหนีห่างจากชายฝั่งได้แล้วให้พยายามมองหาที่สูงและต้องมีความแข็งแรงคงทน เช่น บ้าน อาคาร โดยท่านต้องปีนขึ้นไปให้สูงที่สุดแม้กระทั่งหลังคา เท่าที่ท่านจะสามารถทำได้
-    ในกรณีที่ท่านไม่สามารถทำตามวิธีที่แนะนำเบื้องต้นได้แล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุดคือมองหาต้นไม้ที่สูงและมีความแข็งแรงท่านต้องปีนขึ้นไปให้สูงที่สุด
7.หากพบว่าตัวเองหนีไม่ทันและกำลังจะจมน้ำให้มองหาสิ่งที่สามารถลอยน้ำได้และเกาะไว้ให้แน่น
8.เมื่อได้รับทราบการแจ้งเตือนสิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ หยิบเฉพาะชุดอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เท่านั้น ไม่ต้องสนใจอย่างอื่นให้จำไว้เสมอว่า ชีวิตมีค่าที่สุด
9.อยู่ในที่ปลอดภัยจนกว่าจะแน่ใจว่าทุกอย่างสงบแล้ว เพราะคลื่นสึนามิอาจมีความยาวของลูกคลื่นห่างกันเป็นชั่วโมง
10.รับฟังข่าวสารจากวิทยุเป็นหลัก อย่าเชื่อคำพูดปากต่อปากเพราะท่านอาจเป็นอันตรายหากลงมาจากที่ปลอดภัยเร็วเกินไป
11.รอฟังประกาศจากหน่วยงานท้องถิ่น และภาครัฐเท่านั้นท่านจึงแน่ใจและสามารถกลับบ้านได้
12.หลังจากเกิดสึนามิท่านจะต้องพบกับเศษซากปลักหักพังจำนวนมาก รวมทั้ง ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต และปัญหาเรื่องความหิวโหย ดังนั้นแผนการรับมือกับสึนามิต้องมีการวางแผนการช่วยเหลือหลังเกิดสึนามิไว้ล่วงหน้าด้วย โดยต้องมีการร่วมมือกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนไว้ เช่น
-                    จัดให้มีแหล่งน้ำจืดยามฉุกเฉินไว้ไม่ว่าจะเป็นน้ำขวดหรือน้ำประปา
-                    ใช้อาคารและบ้านเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหายเป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย
-                    เตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้ใช้ยามฉุกเฉินพื้นใช้เป็นปัจจัยพื้นฐานได้
-                    มีแผนเตรียมการฉุกเฉินในด้านการแจกจ่ายอาหารให้แก่ผู้ประสบภัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้